บทที่4 ตัวแปร ชนิดข้อมูล นิพจน์ ตัวดำเนินการ

ข้อมูลและตัวแปร(Data and Variable)
     ข้อมูลไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบข้อความ ตัวเลย หรือรูปแบบใดๆ ก็ตามเราจะใช้ข้อมูล เหล่านั้นมาประมวลผลในโปรแกรม(เช่น บวก ลบ คูณ หาร จัดเก็บ โยกย้าย) และเพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นง่ายต่อการจัดการ เราจึงเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในพื้นที่ของหน่วยความจำ ซึ่งเราจะเรียกค่าข้อมูลในหน่วยความจำว่าตัวแปร (Variable) ตัวแปร ก็คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อการอ้างอิงตำแหน่งหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลที่มีชนิดของข้อมูลแตกต่างกันได้และข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตลอด
การประกาศตัวแปร (Declaration)
     การประกาศตัวแปรก็คือ การสร้างตัวแปรโดยกำหนดชื่อและขนิดของข้อมูลให้กับตัวแปร ซึ่งตัวประกาศตัวแปรก่อนการใช้งานทุกครั้ง ในบางครั้งอาจกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรด้วยก็ได้ รูปแบบดังนี้ dataType VarName [= Value] 
dataType เป็นชนิดข้อมูลตัวแปรที่ต้องการ
VarName เป็นชื่อตัวแปร
Value        เป็นค่าของตัวแปร

ข้อมูลชนิดค่าความจริง(Boolean)
ข้อมูลชนิดค่าความจริง เป็นข้อมูลที่มีค่าความจริงเป็นจริงหรือเป็นเท็จเท่านั้น ซึ่งภาษา java จะแทนค่าความจริงด้วย true และแทนค่าความจริงเป็นเท็จด้วย false ซึ่งจะไม่ใช้เลขจำนวนเต็มหรือค่าอื่นๆ แทนค่าความจริง
ตัวอย่าง โค้ด
          public class BooleanTest {
              public static void main (String[ ] args) {
                        boolean x = false;
                        boolean y = true;
                        boolean z = x | | y;
                        System.out.printIn ("give x = false, y = true and z = x | | y then");
                        System.out.printIn ("! x = " + !x);
                        System.out.printIn ("x && y = " + ( x && y));
                        System.out.printIn (" z = " + z);
              } 
          }      
เมื่อรันโปรแกรมจะได้ผลดังนี้
         run:
         give x = false, y= true and z = x | | y then
         !x = true
         x && y = false
         z = true
         BUILD SUCCESSFUL (total time: 0 seconds)

ค่าคงที่ (Constant)
   เป็นค่าข้อมูลชนิดไดชนิดหนึ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะที่โปรแกรมทำงาน เช่นค่า พาย เท่ากับ 3.14 เป็นต้น รูปแบบการประกาศค่าคงที่จะเหมือนกับการประกาศตัวแปร
แต่จะมีการใช้คีย์เววิร์ด final นำหน้า
              final dataType VarName [= Value];

dataType เป็นชนิดข้อมูลของค่าคงที่ที่ต้องการ
VarName เป็นชื่อตัวแปร

Value        เป็นค่าของตัวแปร

ตัวนำเนินการ
คือ นิพจน์ ซึ่งหมายถึงข้อความหรือประโยคที่เขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ โดยนำข้อมูล, ตัวแปร, ฟังก์ชั่น หรือค่าคงที่มาสัมพันธฺกับตัวดำเนินการ การสร้างนิพจร์ 1 นิพจร์นั่นคือ นิพจน์จะต้องมีตัวถูกกระทำ อย่างน้อย 1 ตัวและตัวดำเนินการ อย่างน้อย 1 ตัว
ตัวอย่าง ตำวดำเนินการ


การแปลงชนิดของข้อมูล (Data Type Conversion)
ในภาษา java อนุญาตให้มีการแปลงชนิดข้อมูลได้ 2 วิธี แต่จะกำหนดค่าระหส่างตัวแปรมีขนิดข้อมูลจ่างกัน วิธีที่ 1 lmplicit Type Conversion วิธีที่ 2 Explicit Type Conversion
lmplicit Type Conversion
 การแปลงชนิดข้อมูลในกรณีข้อมูงต่างกัน โดยคอมไพเลอร์จะตรวจสอบจากตัวกำเนินการการกำหนดค่าและแปลงชนิดข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีเงื่อนไข
1. ข้อมูลจะต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกัน เช่นตัวเลขเหมือนกันเป็นต้น
2. การแปลงชนิดข้อมูล จะแปลงจากชนิดข้อมูลที่มีขนาดเล็กไปเป็นชนิดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น

Explicit Type Conversion
คือการแปลงค่าชนิข้อมูลโดยผู้เขียนโปรแกรมเอง รูปแบบดังนี้

          valNameResult = (dataType) valName

valNameResult เป็นชื่อตัวแปรที่รับค่าจากตัวแปลงข้อมูลซึ่งจะต้องมีชนิดเดียวกับ dataType
dataType เป็นชนิดข้อมูลที่ต้องการแปลง
valName        เป็นชื่อตัวแปรหรือข้อมูลรี่ต้องการแปลงชนิดช้อมูล

ตัวอย่าง


เมื่อรันโปรแกรม



อ้างอิง พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2556
 ผู้แต่งคือ ผศ.สุดา เธียรมนตรี หนังสือ คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา java



https://www.google.com/search?q=หนังสือ+java&client=ms-android-samsung&prmd=imvn&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjDy46F8qPgAhXFMo8KHas2BzIQ_AUoAXoECA0QAQ#imgrc=hKBob1sEPoyIRM


















ความคิดเห็น